02-234-5136, 089-776-0781

เราจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร หากบ้านเรามี “มลพิษอากาศ”

เราจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร หากบ้านเรามี “มลพิษอากาศ” ทุกอย่างมีทางแก้ไข และมีทางป้องกัน แต่เราต้องยอมรับว่า ปั...

เราจะป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร หากบ้านเรามี “มลพิษอากาศ”

ทุกอย่างมีทางแก้ไข และมีทางป้องกัน แต่เราต้องยอมรับว่า ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลถึงคุณภาพของอากาศนั้น เราไม่สามารถเป็นผู้ควบคุมได้หมดคนเดียว เพราะคุณภาพของอากาศในอาคาร นอกจากปัจจัยของสิ่งต่างๆในอาคารแล้ว ก็มีปัจจัยภายนอก จากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เราเข้าไปจัดการไม่ได้เสียเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องถือหลักว่า ทำอย่างดีที่สุด และเลือกที่อยู่ที่ทำงานให้เหมาะสมที่สุด ก็น่าจะเพียงพอ โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพ หรือ เขตโรงงานอุตสาหกรรม

 
  มลพิษอากาศ    การจัดการ
  เชื้อแบคทีเรีย                 
  • ล้างจานชามใช้แล้ว ไม่เก็บไว้รวมล้างทีเดียว หรือ ล้างทีหลัง
  • เก็บถังขยะ เก็บขยะออกทิ้งเป็นประจำ มัดปากถุงให้เรียบร้อย รวมถึงการแยกประเภทขยะ เพื่อง่ายต่อการจัดการขยะ และเพื่อเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • จัดระบบการทำความสะอาดให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรกตามจุดต่างๆ
  • ไม่กองผ้าใช้แล้วทิ้งไว้รอซัก เพราะระหว่างนั้นสามารถเกิดเชื้อโรคเชื้อราต่างๆได้โดยที่เรามองไม่เห็น ขณะเดียวกันกลิ่นเหม็นก็จะติดเสื้อและยากต่อการซักทำความสะอาด
  เชื้อรา  
  • แก้ไขจุดน้ำรั่วซึมต่างๆ เช่น ท่อน้ำ รอยแตกของผนังที่มีน้ำซึม เพื่อไม่ให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อรา
  • จัดระบบถ่ายเทอากาศในบ้านที่ดีพอ ให้เกิดอากาศหมุนเวียน และเปลี่ยนเอาอากาศภายนอกเข้ามาบ้าง ด้วยการเปิดหน้าต่างบ้าง
  • แก้ไขจุดน้ำขังต่างๆในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นตามห้องน้ำ ห้องครัว
  • หากมีพรม ควรทำความสะอาดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา โดยเฉพาะห้องนั้นเป็นห้องที่มีการเปิดเครื่องปรับอากาศ
  • จัดการเก็บขยะออกทิ้งเป็นประจำ โดยเฉพาะเศษอาหารต่างๆที่เน่าเสียได้
  • ทำความสะอาดและล้างตู้เย็น รื้อทิ้งอาหารที่เสียแล้วออกจากตู้เย็น เพื่อไม่ให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อโรคกับอาหารที่เรารับประทาน
  • ทำความสะอาดตู้เก็บรองเท้า เช็ดรองเท้าให้สะอาด เพราะรองเท้าที่ผ่านการใช้งานมา มักจะมีความชื้นจากเหงื่อที่เท้า เมื่อมาเก็บในตู้อับมืด ก็มักจะเกิดความชื้นเพิ่มและเชื้อราได้ 
  ฝุ่น  
  • จัดการกับตัวดักเก็บฝุ่น ไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาผ้า พรม และผ้าม่าน ด้วยการเก็บให้เรียบร้อย ทำความสะอาดดูดฝุ่นอยู่เป็นประจำ
  • ทำความสะอาดบ้านและห้องอยู่เป็นประจำ ทั่วถึงและสม่ำเสมอ
  • ปลูกต้นไม้ ในบริเวณสวน เพื่อช่วยกรองฝุ่นจากภายนอก
  • เปลี่ยนผ้าปูที่นอนเป็นประจำและบ่อยครั้ง
  • เก็บชั้นหนังสือให้เรียบร้อย หากเป็นไปได้ ให้หาตู้หนังสือที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันฝุ่น เพราะหนังสือเป็นตัวเก็บฝุ่นอย่างดี
  • หลีกเลี่ยงการปูพรม เพราะเป็นตัวกักเก็บฝุ่นที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง
  • ทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศที่เครื่องปรับอากาศอยู่เป็นประจำ ด้วยการถอดออกมาล้างทำความสะอาด 
  แร่ใยหิน  
  • หลักเลี่ยงบริเวณที่มีการก่อสร้าง การรื้อถอน หรือการปรับปรุงพื้นที่ เพราะอาจจะมีการรื้อวัสดุก่อสร้างที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบและอาจเกิดการฟุ้งกระจายของแร่ใยหินได้
  • เลือกวัสดุของอุปกรณ์ก่อสร้างที่ไม่ได้ทำมาจากแร่ใยหินสำหรับการดูแลบ้าน หรือถ้าเปลี่ยนไม่ได้ ให้ระมัดระวังในช่วงการใช้งานและการรื้อถอนไม่ให้เกิดเศษแร่ใยหินฟุ้งกระจายออกมา
  • เลือกฉนวนกันความร้อนที่ทำจากยาง แทนแร่ใยหิน โดยเฉพาะกับอาคารสำนักงานที่มีการใช้ฉนวนกันความร้อนที่ท่อส่งลมเย็นในอาคาร เมื่อมีการฉีกขาดของฉนวนแร่ใยหิน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่มีการติดต่อ ก่อสร้างหรือซ่อมแซม ทำให้มีโอกาศของแร่ใยหินที่จะปลิวอยู่ภายในท่อส่งลมเย็น อันจะเป็นอันตรายอย่างมากแก่สุขภาพของทุกๆคนที่อาศัยอยู่ในห้องนั้นๆ 
  สารระเหยต่างๆ  
  • ลดการใช้สารเคมีในการทำความสะอาดภายในบ้าน หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เพื่อความปลอดภัย
  • ลดการใช้สเปรย์อัดก๊าซ
  • หากซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้อัด หรือ อุปกรณ์ในบ้านที่เป็นพลาสติกใหม่ๆเข้ามา พยายามเปิดหน้าต่าง และเปิดพัดลม เพื่อไล่ให้สารระเหยเหล่านั้น ถูกระบายออกสู่ภายนอกอาคาร
  • ในกรณีที่มีการใช้ กาว หรือ มีการทาสี ควรเปิดให้มีอากาศถ่ายเท เพื่อป้องการการสะสมของสารระเหยในปริมาณเข้มข้น และควรสวมหน้ากากในขณะใช้งาน ซึ่งจะต้องดูรุ่นที่เฉพาะกับการกรองกลิ่นสารระเหยต่างๆ เป็นต้น
  • ไม่ควรซื้อสารทำความสะอาดมาเก็บไว้เป็นจำนวนมาก เป็นไปได้ให้ทยอยซื้อเท่าที่จำเป็นดีกว่า เพื่อลดการระเหยออกมาของสารเคมีอันตราย
  • ไม่ควรเก็บสารทำความสะอาด หรือ กาว สีทาบ้านฯ ในห้องควบคุมระบบปรับอากาศ เพื่อป้องกันการไหลรั่วเข้าสู่ระบบปรับอากาศ อันจะทำให้กระจายสารพิษนี้ไปทั่วบริเวณ
  โอโซน  
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเครื่องผลิตโอโซน หากมีการใช้ ควรศึกษาข้อกำหนดของการทิ้งระยะเวลาก่อนกลับเข้าสู่พื้นที่ ทั้งนี้เป็นการยากมากในการประเมินโอโซนที่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่นั้น เพราะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่อง ขนาดของห้อง และปัจจัยอื่นๆ
  • หลีกเลี่ยงอุปกรณ์สำนักงานรุ่นที่สามารถปล่อยโอโซนได้ โดยปัจจุบันมีรุ่นใหม่ๆที่ปราศจากการปล่อยโอโซนมาให้เลือกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร และเครื่องปริ้นเตอร์
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องตัดหญ้าในตอนกลางวันที่มีแดดจ้า เพราะไอเสียจากเครื่องยนต์ และความร้อนจากแดดจะทำปฏิกิริยาให้เกิดโอโซนที่เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะกับผู้ที่ทำงานตัดหญ้านั้นเอง
  • งดการสูบบุหรี่ภายในบ้าน และอาคาร
  • ปลูกต้นไม้ในร่มเพื่อช่วยดูดซับโอโซนและมลพิษทางอากาศอื่นๆ
  • เปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทอยู่เป็นประจำ (ในกรณีที่อากาศภายนอกไม่ใช่พื้นที่ที่มีมลพิษ)
  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์                                                                       
  • หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีคนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดี เราะจะมีการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก
  • หากเป็นสำนักงาน ช่วงเวลาที่มีคนเข้ามาติดต่อจำนวนมาก จะเป็นช่วงเวลาที่ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้เพิ่มขึ้นสูง ซึ่งบางครั้งสามารถขึ้นได้สูงเกินกว่าค่ากำหนดได้ จึงควรจัดการเรื่องระบบถ่ายเทอากาศภายในอาคารให้เรียบร้อย เพื่อให้ค่าเฉลี่ยของปริมาณก๊าซนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย
  ก๊าซต่างๆที่เป็นมลพิษอากาศในอาคาร                                                                                                                                                                        
  • การกันการรั่วซึมของอากาศจากภายนอกเข้ามาภายในอาคาร หรือ ในบ้าน ด้วยการดูแลรอยรั่วตามผนังและพื้น ให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
  • การจัดระบบถ่ายเทอากาศที่ดี
  • การงดสูบบุหรี่ภายในอาคาร
  • ในโรงจอดรถที่บ้าน หากอยู่ใกล้กับทางเข้าบ้าน ให้รอให้ไอเสียจากรถกระจายสลายลงไปเสียก่อนเปิดประตูเข้าบ้าน หรือถ้ามีหน้าต่าง ให้ปิดหน้าต่างบริเวณนั้นไว้ เพื่อป้องกันไอเสียจากรถเข้าสู่ตัวบ้าน
  • ในอาคารต่างๆ หากพื้นที่ส่วนสำนักงานและพื้นที่อยู่อาศัยอยู่ต่อกับพื้นที่ที่จอดรถ ให้มีห้องกันอากาศชั้นหนึ่งเสียก่อน ที่จะเปิดประตูเข้าสู่ตัวอาคารโดยตรงทันที การติดแอร์แบบเป่าลง หรือที่เรียกว่า Curtain air conditioner หรือ ม่านอากาศ / ม่านกันอากาศ
  กลิ่น  
  • จัดระบบการทำความสะอาดให้เรียบร้อย เป็นประจำ และทั่วถึง
  • กำจัดจุดหมักหมมของสิ่งสกปรกต่างๆ
  • เปิดหน้าต่าง เพื่อถ่ายเทอากาศ
  • ปรับปรุงระบบการถ่ายเทอากาศให้ดีขึ้น  

 

Share this post :